คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530
ป.อ. มาตรา 172, 179
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 121, 123, 134
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอ ทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัด ได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด
การที่จำเลยแจ้งความดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งให้ทราบโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยได้รับทราบมาจากคำบอกเล่าของนางสาว อ. และนาง ธ. มิได้ยืนยันว่าจำเลยรู้เห็นด้วยตนเอง ข้อกล่าวหาที่ว่าโจทก์บุกรุกสำนักงาน เป็นเพียงการแสดงความเห็นไม่ใช่ยืนยันข้อเท็จจริง ฉะนั้น ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าการที่โจทก์เข้าไปในสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นกรณีที่โจทก์เข้าไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานเป็นความเท็จ จำเลยไม่มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 172
การที่โจทก์ไปนั่งที่โต๊ะทำงานของจำเลยในขณะที่จำเลยไม่อยู่และเงินบริจาคซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินจำนวนดังกล่าวการที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลย โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ตามความเป็นจริง ถึงแม้จำเลยจะไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าคำแจ้งความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยไม่มีความผิด
การที่จำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อนายอำเภอ รายงานข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและรายงานการกระทำของโจทก์ตามที่ได้รับคำบอกเล่าจากนางสาว อ. และนาง ธ. ซึ่งมีข้อความทำนองเดียวกันกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นการทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 172 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อเท็จจริงเป็นเท็จโดยแกล้งกล่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง ส่วนการตั้งข้อหานั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งเสมอไป กรณีที่ผู้แจ้งแจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนจะถือว่าผู้แจ้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่
ป.อ. มาตรา 172, 179
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 121, 123, 134
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอ ทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัด ได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด
การที่จำเลยแจ้งความดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งให้ทราบโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยได้รับทราบมาจากคำบอกเล่าของนางสาว อ. และนาง ธ. มิได้ยืนยันว่าจำเลยรู้เห็นด้วยตนเอง ข้อกล่าวหาที่ว่าโจทก์บุกรุกสำนักงาน เป็นเพียงการแสดงความเห็นไม่ใช่ยืนยันข้อเท็จจริง ฉะนั้น ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าการที่โจทก์เข้าไปในสำนักงานเกษตรอำเภอ เป็นกรณีที่โจทก์เข้าไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานเป็นความเท็จ จำเลยไม่มีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 172
การที่โจทก์ไปนั่งที่โต๊ะทำงานของจำเลยในขณะที่จำเลยไม่อยู่และเงินบริจาคซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินจำนวนดังกล่าวการที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลย โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ตามความเป็นจริง ถึงแม้จำเลยจะไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าคำแจ้งความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยไม่มีความผิด
การที่จำเลยได้ทำบันทึกเสนอต่อนายอำเภอ รายงานข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและรายงานการกระทำของโจทก์ตามที่ได้รับคำบอกเล่าจากนางสาว อ. และนาง ธ. ซึ่งมีข้อความทำนองเดียวกันกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ก็ถือไม่ได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นการทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ป.อ. มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 172 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อเท็จจริงเป็นเท็จโดยแกล้งกล่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง ส่วนการตั้งข้อหานั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งเสมอไป กรณีที่ผู้แจ้งแจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนจะถือว่าผู้แจ้งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่