คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465 / 2555
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, 173, 174 วรรคสอง, 181 (1)
กรณีพิพาทเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์และจำเลย ต่างโต้แย้งกันในเรื่องสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือไม่ จึงถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ในสัญญาทางแพ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างอ้างตนว่ามีสิทธิในรถยนต์คันพิพาท ดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น การที่โจทก์และนางสาว ส. ยึดรถยนต์คันพิพาทไว้ จึงมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า โจทก์และนางสาว ส. ร่วมกันหลอกลวงให้จำเลยมาพบและยึดรถยนต์ไว้ และทำให้จำเลยเชื่อว่าตนถูกละเมิดสิทธิในทางทรัพย์สิน จึงได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนถึงเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นความจริงที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยอมรับมิได้มีข้อความใดที่จำเลย กล่าวอ้างเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย
แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้งก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ และถึงแม้จำเลยจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์และนางสาว ส. ในข้อหา ร่วมกันชิงทรัพย์ ก็น่าเชื่อว่าเป็นการที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวน จะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานใด
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจำเลยก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษในทางอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549
ป.อ. มาตรา 172, 173, 174
โจทก์ทั้งสองเบิกความยอมรับว่าได้ร่วมกับชาวบ้านเข้าไปในที่สาธารณประโยชน์โคกป่าช้าและตัดต้นไม้เพื่อจะสร้างศาลาพักศพจริง ซึ่งตรงกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
ดังนั้น ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541
ป.อ. มาตรา 173, 174
ก่อนที่จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ โจทก์ติดต่อตึกแถวให้จำเลยเช่า โจทก์ช่วยจำเลยขนย้ายทรัพย์สินไปที่ตึกแถวเลขที่ดังกล่าวโดยโจทก์ว่าจ้างนาย ป. เป็นผู้จัดหาคนงานและรถยนต์บรรทุกและโจทก์เป็นผู้ควบคุมการขนย้าย ปรากฏว่าทรัพย์สินของจำเลยหายไปหลายรายการ ต่อมา จำเลยพบโจทก์และทรัพย์สินที่หายอยู่ที่บ้านโดยคนในบ้านยอมรับว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลย แต่เมื่อจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวคืนนาง อ. และนาย ป. ไม่ยอมให้ขนย้าย โดยอ้างว่าต้องให้โจทก์มาด้วย จำเลยจึงไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์
แม้พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวโดยเห็นว่าหลักฐานไม่พอก็ตาม คำสั่งของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นที่พิจารณาสั่งไปตามพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันคดีนี้ให้ต้องพิจารณาไปตามนั้น เพราะการจะเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามฟ้อง นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย
แต่คดีนี้จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งความตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นแก่จำเลย โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, 173, 174 วรรคสอง, 181 (1)
กรณีพิพาทเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์และจำเลย ต่างโต้แย้งกันในเรื่องสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือไม่ จึงถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ในสัญญาทางแพ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างอ้างตนว่ามีสิทธิในรถยนต์คันพิพาท ดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
ดังนั้น การที่โจทก์และนางสาว ส. ยึดรถยนต์คันพิพาทไว้ จึงมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่า โจทก์และนางสาว ส. ร่วมกันหลอกลวงให้จำเลยมาพบและยึดรถยนต์ไว้ และทำให้จำเลยเชื่อว่าตนถูกละเมิดสิทธิในทางทรัพย์สิน จึงได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนถึงเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นความจริงที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยอมรับมิได้มีข้อความใดที่จำเลย กล่าวอ้างเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจึงตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย
แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะไม่ได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้งก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ และถึงแม้จำเลยจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์และนางสาว ส. ในข้อหา ร่วมกันชิงทรัพย์ ก็น่าเชื่อว่าเป็นการที่จำเลยกล่าวอ้างไปตามความเข้าใจของตน ส่วนการกระทำตามที่จำเลยแจ้งจะเป็นความผิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวน จะดำเนินการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานใด
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความจริงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และจำเลยก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษในทางอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549
ป.อ. มาตรา 172, 173, 174
โจทก์ทั้งสองเบิกความยอมรับว่าได้ร่วมกับชาวบ้านเข้าไปในที่สาธารณประโยชน์โคกป่าช้าและตัดต้นไม้เพื่อจะสร้างศาลาพักศพจริง ซึ่งตรงกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
ดังนั้น ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541
ป.อ. มาตรา 173, 174
ก่อนที่จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ โจทก์ติดต่อตึกแถวให้จำเลยเช่า โจทก์ช่วยจำเลยขนย้ายทรัพย์สินไปที่ตึกแถวเลขที่ดังกล่าวโดยโจทก์ว่าจ้างนาย ป. เป็นผู้จัดหาคนงานและรถยนต์บรรทุกและโจทก์เป็นผู้ควบคุมการขนย้าย ปรากฏว่าทรัพย์สินของจำเลยหายไปหลายรายการ ต่อมา จำเลยพบโจทก์และทรัพย์สินที่หายอยู่ที่บ้านโดยคนในบ้านยอมรับว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลย แต่เมื่อจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวคืนนาง อ. และนาย ป. ไม่ยอมให้ขนย้าย โดยอ้างว่าต้องให้โจทก์มาด้วย จำเลยจึงไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์
แม้พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวโดยเห็นว่าหลักฐานไม่พอก็ตาม คำสั่งของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นที่พิจารณาสั่งไปตามพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันคดีนี้ให้ต้องพิจารณาไปตามนั้น เพราะการจะเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามฟ้อง นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย
แต่คดีนี้จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเป็นการแจ้งความตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นแก่จำเลย โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ